วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access



  ใบงานที่ 9 เรื่อง การสร้างฐานข้อมูล

หน่วยที่ 8 การพิมพ์ข้อมูลจากโปรแกรมคำนวณ และการประยุกต์ใช้ในการนำเสนอ



ใบงานที่ 8.1 เรื่อง การสร้างตารางเปรียบเทียบข้อมูลด้วยกราฟแท่ง

ใบงานที่ 8.2 เรื่อง การสร้างตารางเปรียบเทียบข้อมูลด้วยกราฟแท่งและกราฟวงกลม

หน่วยที่ 7 การจัดรูปแบบข้อมูล การแก้ไข ลบ คัดลอก และเคลื่อนย้ายข้อมูล




     ใบงานที่ 7.1 เรื่อง การสร้างเวิร์กชีทและจัดรูปแบบข้อมูล

     ใบงานที่ 7.2 เรื่อง การจัดรูปแบบข้อมูลตัวเลข

     ใบงานที่ 7.3 เรื่อง การจัดรูปแบบข้อความและคำนวณข้อมูลในเวิร์กชีท

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

หน่วยที่ 6 การประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsotf Excel



ใบงานที่ 6.1 เรื่อง การใช้สูตรผลรวมและค่าเฉลี่ย

ใบงานที่ 6.2 เรื่อง การใช้สูตรคำนวณค่าข้อมูล

ใบงานที่ 6.3 เรื่อง การคำนวณข้อมูลราคาสินค้า

ใบงานที่ 6.4 เรื่อง การใช้สูตรคำนวณโดยใช้ฟังก์ชัน IF

หน่วยที่ 5 การจัดเอกสารและการนำเอกสารมาใช้งาน




             ใบงานที่ 5.1 เรื่องสร้างตารางข้อมูลผู้รับหลายคน

             ใบงานที่ 5.2 การพิมพ์จดหมายเวียน

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

หน่วยที่ 4 การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word



             ใบงานที่ 4.1 เรื่องการจัดรูปแบบการพิมพ์เอกสาร

             ใบงานที่ 4.2 เรื่องการจัดรูปแบบการพิมพ์เอกสารให้ข้อความชิดซ้าย
     
             ใบงานที่ 4.3 เรื่องการจัดระยะข้อความตัวเลขให้ทศนิยมตรงกัน

             ใบงานที่ 4.4 เรื่องการแทรกสัญลักษณ์พิเศษ

             ใบงานที่ 4.5 เรื่องการจัดรูปแบบลำดับตัวนำสายตาและลำดับเลขที่

             ใบงานที่ 4.6 เรื่องการสร้างกรอบข้อความ การแทรกรูปภาพ และอักษรศิลป์

             ใบงานที่ 4.7 เรื่อการจัดระยะข้อความและสร้างกรอบข้อความ

             ใบงานที่ 4.8 เรื่องการจัดรูปแบบเอกสารเป็นคอลัมน์

             ใบงานที่ 4.9 เรื่องการเลือกใช้เครื่องมือวาดภาพ

             ใบงานที่ 4.10 เรื่องการสร้างตาราง

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

หน่วยที่ 3 การค้นหาอินเทอร์เน็ต



เรื่องการค้นหาอินเทอร์เน็ต

1.ประวัติของการเกิดอินเทอร์เน็ต
    อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้



  อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
          
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
       ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น


2.จุดเริ่มต้นอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

       ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ“th”เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand



3.คุณธรรมและอริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

เนื่องจากอินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กจำนวนมากเข้าด้วยกัน เมื่อมีระบบเครือข่ายเกิดขึ้น มันทำให้เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นผ่านทางระบบเครือข่ายได้ ทั้งกับคนสนิทและบุคคลทั่วไป ซึ่งการที่เราติดต่อสื่อสารกันได้เช่นนี้ ก็เปรียบเสมือนเรากำลังอยู่ในสังคมแห่งใหม่ที่เรียกว่า สังคมในโลกอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในการที่เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข นั่นก็คือ มารยาทและกฎกติกาของสังคม นึกง่ายๆ ว่า ถ้าเกิดประเทศเราไม่มีกฎหมายในการจัดการบ้านเมือง เช่น กฎจราจร ผู้คนคงขับรถกันตามใจชอบ และต่อให้ขับรถชนคนอื่นก็จะไม่มีการถูกลงโทษใดๆ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน

ดังนั้น ในยุคปัจจุบันที่เราแทบทุกคนต่างมีสังคมอีกแห่งหนึ่งอย่าง สังคมในโลกอินเทอร์เน็ต เราจึงจำเป็นจะต้องรู้จักกฎ กติกา และมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต หรือเราควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น




4.วิธีการเข้าถึงและสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากเครือข่ายออินเทอร์เน็ต
          ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1.
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2.
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine



การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
          วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง

การค้นหาในรูปแบบ Search Engine

          วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา


         5.ตัวอย่าง web search Engine.

Google

www.google.com
Google เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านฐานข้อมูลเพื่อให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง มีฐานข้อมูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน จุดเด่นที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือเป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก
(รวมทั้งภาษาไทยและมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด และแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย คือ 
-         เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
-         รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ
-         กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ
-         สารบบเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่



   Sanook
เป็นเว็บไซต์ชื่อดังของไทยที่เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลของไทยที่มีข้อมูลให้ค้นหามากมายทั้งของไทยและทั่วโลกซึ่งมีทั้งแบบนามานุกรมและคำค้น ซึ่งจะบอกที่อยู่ของเว็บไซต์และมีคำอธิบายเว็บที่หาอย่างเข้าใจง่าย และยังสามารถส่งเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ทางอีเมล์ด้วย



Go
http://www. go.com
เป็น Search Engine  ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และยังรวมถึงฐานข้อมูลของรายชื่ออีเมล์และนิวส์กรุ๊ปไดเป็น Search Engine ที่เป็นแบบ  นามานุกรมที่มีความเร็วในการค้นหา อีกทั้งหน้าตาเว็บยังสวยงาม และมีลูกเล่นด้วย



Yahoo    
Yahoo (อ่านว่า ยา-ฮูเป็น Search Engine ที่เก่าแก่และเรียกว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดตัวหนึ่งในอาณาจักรอินเทอร์เน็ต จุดเด่นหลักของเว็บไซต์นี้คงมาจากความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ทำได้อย่างรวดเร็วจุดหนึ่งที่ทำให้ Yahoo โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือการ แบ่งเว็บไซต์ที่เก็บในฐานข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่และยังมีการโยงใยระหว่างกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ



AltaVista
http://www.altavist.com
AltaVista  เป็น Search Engine ที่มีคุณสมบัติการค้นหาด้วยความเร็วปานสายฟ้าแลบและตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างมาก   สามารถสั่งให้ค้นหาแบบคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ดได้อย่างชัดเจนอีกทั้งในการใช้ตรรกบูลีน(OR, AND, NOT)  จะดีมาก


6.ความสำคัญของการจัดเก็บและการสืบค้นคืนสารสนเทศ

การเข้าถึง(Access)

เป็นวิธีการที่ผู้ใช้สามารถค้น ค้นหา ค้นคืน และได้รับสารสนเทศ ที่เข้าถึงเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศและแหล่งต่างๆ จัดเก็บไว้บริการผู้ใช้
การค้นหา(Searching)
เป็นการป้อนคำสั่งโดยผู้ค้นเตรียมประโยคหรือคำค้นไว้ และปฏิสัมพันธ์กับระบบค้นคืนและพิจารณาผลที่ได้รับ ซึ่งเป็นขั้นตอนในกระบวนการค้นหา

การค้นคืน (Retrieval)
หมายถึง การได้รับสิ่งต้องการกลับคืนมา
การค้นคืนสารสนเทศ จึงเป็นการกระทำใดๆที่คัดเลือกสารสนเทศจากแหล่งเก็บเพื่อทำให้ได้รับสารสนเทศตามที่ต้องการซึ่งอาจเป็นข้อมูล หรือรายการเอกสาร ที่มีเนื้อหาที่ต้องการ
หลักสำคัญของการค้นคืนสารสนเทศคือ การค้นหาและนำสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ ส่งให้ผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ทันกาล จึงเรียกว่า ระบบการค้นคืนสารสนเทศ  เช่น บัตรรายการ สิ่งพิมพ์ดรรชนี เป็นต้น
สรุป การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือ กระบวนการในการรวบรวมรายละเอียดของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการกลับคืนมาได้สะดวกและรวดเร็ว ด้วยวิธีและเทคนิกอย่างเป็นขั้นตอน

การเตรียมการในการค้นคืนสารสนเทศ มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้

1.การเตรียมรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการ
WHO หมายถึงเรื่องราวที่กำลังต้องการค้นหาเกี่ยวกับใคร ได้มีการปรึกษาบุคคลอื่นก่อนหรือไม่และมีการพูดคุยกับกลุ่มหรือบุคคลเป้าหมายใดบ้าง
WHAT หมายถึง ต้องการสนเมศอะไรบ้างหรือประเภทใดบ้างที่ต้องการการคาดว่าทรัพยากรสารสนเทศใดมีประโยชน์สูงสุดต่อการค้นหา มีการตรวจสอบทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อย่นระยะเวลาในการค้นหาและรูปแบบสารสนเทศที่ต้องการเป็นอย่างไร
WHERE หมายถึง ข้อมูลที่ต้องการค้นหาเกิดขึ้นที่ไหน สามารถค้นพบได้แหล่งใด และในอนาคตจะสามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จากที่ไหน
WHY หมายถึง จะต้องการสารสนเทศมากน้อยแค่ไหน จะนำทรัพยากรสารสนเทศที่รวบรวมมาได้มาสังเคราะห์อย่างไร มีงบประมาณเท่าไร เพียงพอ หรือไม่ที่จะสืบค้น  วิธีการค้นหาข้อมูลมี 2 แบบ ทั้งแบบ ออนไลน์ และแบบออฟไลน์ จะขอความช่วยเหลืออย่างไรถ้าเกิดปัญหา และการอ้างอิงทำอย่างไร

2.พิจารณาเลือกฐานข้อมูลโดยให้คำนึงถึง
-ขอบเขตเนื้อหาสาระของสารสนเทศในฐานข้อมูล
-ระยะเวลาของส่ารสนเทศที่บันทึกอยู่ในฐานข้อมูล
-ราคาค่าใช้จ่ายที่ต้องการสืบค้นฐานข้อมูล
-ภาษาของสารสนเทศ
-จำนวนสารสนเทศที่มีอยู่และการเพิ่มขึ้นของข้อมูล
-ลักษณะของสารสนเทศที่ให้เป็นสารสังเขป หรือข้อมูลเต็บรูป
-บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เช่น การพิมพ์ผลการสืบค้น หรือการส่งข้อมูลผ่าน E-Mail









วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม.

คอมพิวเตอร์ (Computer
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
คอมพิวเตอร์ หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย

คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป

หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน

คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเภทของคอมพิวเตอร์

 1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มีขนาดของความจำมาก ตั้งอยู่ในห้องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักในงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศ และงานอื่นๆที่มีการคำนวณซับซ้อน

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

ที่มา  :  http://www.toptenthailand.com/display.php?id=576

 2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ท่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ปลายทางได้จำนวนมาก ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้พร้อมกันหลายร้อยคน จึงมักใช้ในองคืกรขนาดใหญ่


เมนเฟรมคอมพิวเตอร์

ที่มา  :  http://www.thaigoodview.com/node/10190

 3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ มักพบในองค์กรที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ประมวลผลงานบัยชี โดยนำไปเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายคน โดยมีการประมวลผลที่อยู่ส่วนกลาง แล้วส่งผลไปที่เครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทางไม่ต้องประมวลผลเอง



มินิคอมพิวเตอร์

ที่มา  :  http://www.tsu.ac.th/cst/course/computer_it/lesson3/lesson3-3.html

 4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย ทีทั้งคอมพิวตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งเหมาะกับการทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปในสถานที่ต่างๆได้ เช่น       โน๊ตบุ๊ก เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ                                    คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 

อุปกรณ์โทรคมนาคม 

          โทรคมนาคมเป็นการใช้สื่ออุปกรณ์รับไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร และโทรพิมพ์ เพื่อการสื่อสารในระยะไกล โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะแปลงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงและภาพไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณเหล่านี้จะถูกส่งไปโดยสื่อ เช่น สายโทรศัพท์ หรือคลื่นวิทยุเมื่อสัญญาณไปถึงจุดปลายทาง อุปกรณ์ด้านผู้รับจะรับและแปลงกลับสัญญาณไฟฟ้าเหลานี้ให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ เช่นเป็นเสียงทางโทรศัพท์ หรือภาพบนจอโทรทัศน์ หรือข้อความและภาพบนจอคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมจะช่วยให้บุคคลสามารถติดต่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ๆ ในโลกในรูปแบบของข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง เช่น

1.โทรศัพท์มือถือ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน




2.โทรพิมพ์ เป็นรูปแบบของการบริการโทรเลขชนิดหนึ่ง แต่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อโต้ตอบกันได้โดยเครื่องโทรพิมพ์จะมีลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด ที่เป็นได้ทั้งเครื่องรับและส่งข้อมูลในตัวเดียวกันสามารถสื่อสารโดยอาศัยตัวนำหรือสัญญาณและชุมสายที่มีการเชื่อมต่อกันกับเครื่องโทรพิมพ์ต่างๆเข้าด้วยกัน 



3.คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ

4.สายโทรศัพท์ สายที่โยงถึงกันเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์



5.ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมากสายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา

6.สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงในระดับกิกะเฮิรตซ์(GHz)และเนื่องจากความของคลื่นมีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร จึงเรียกชื่อว่า “ไมโครเวฟ”การส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปใน อากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล




7.สัญญาณไร้สายแบบต่างๆ เป็นสัญญาณที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ




8.วิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน




9. แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation (EM radiation หรือ EMR)) เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่

10. โทรสาร (facsimile, fax แฟกซ์) คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopier




11. โทรเลข คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่ หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น หลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข



12. อินฟราเรด (Infrared) ใช้ในอุปกรณ์ต่างๆเช่นเมาส์,คีย์บอร์ดไร้สายและเครื่องพิมพ์ผู้ผลิตบางรายให้พอร์ตพิเศษที่เรียกว่าพอร์ต IrDA ที่ช่วยให้คีย์บอร์ดไร้สายในการสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญาณอินฟราเรดมีความถี่ระหว่าง 300 ถึง 400 GHz จะใช้สำหรับการสื่อสารระยะสั้น



13. โทรทัศน์ คือระบบการส่งภาพและเสียงไปพร้อมๆกันด้วยเครื่องมืออิเลคโทรนิคเพื่อสื่อสารตามเป้าประสงค์

                                               

องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบโทรคมนาคม
            ระบบโทรคมนาคม (Telecommunications Systems) คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้ มีรายละเอียดของโครงสร้างส่วนประกอบดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือเปลี่ยนปริมาณใดให้เป็นไฟฟ้า (Transducer) เช่น โทรศัพท์ หรือไมโครโฟน
2. เครื่องเทอร์มินอลสำหรับการรับข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
3. อุปกรณ์ประมวลผลการสื่อสาร (Transmitter) ทำหน้าที่แปรรูปสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณ เช่น โมเด็ม (MODEM) มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) แอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) ดำเนินการได้ทั้งรับและส่งข้อมูล
4. ช่องทางสื่อสาร (Transmission Channel) หมายถึงการเชื่อมต่อรูปแบบใดๆ เช่น สายโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง สายโคแอกเซียล หรือแม้แต่การสื่อสารแบบไร้สาย
5. ซอฟท์แวร์การสื่อสารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมการรับส่งข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร


 
องค์ประกอบของระบบโทรคมนาคม

         ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ
              
             ต้นกำเนิดข่าวสาร (Source of Information) เป็นส่วนแรกในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นแหล่งที่มาของข่าวสารต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการที่จะส่งไปยังผู้รับที่ปลายทางตัวอย่างในระบบโทรศัพท์ หรือระบบวิทยุกระจายเสียง ส่วนนี้ก็คือเสียงพูดของผู้พูดที่ต้นทาง ซึ่งจะถูกไมโครโฟนเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เหมาะสม และส่งเข้าไปในระบบ หรือในกรณีระบบการสื่อสารข้อมูล (Data Communication) ส่วนนี้อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Data Terminal ประเภทต่าง ๆ
เครื่องส่งสัญญาณ (Transmitter) 

          ทำหน้าที่ในการแปลงหรือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารจากต้นกำเนิดข่าวสารให้เป็นสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมในการส่งต่อไปยังปลายทางเช่นระบบโทรศัพท์ ตัวเครื่องโทรศัพท์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนเสียงพูด ให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมและส่งต่อไปยังปลายทางสำหรับในระบบการสื่อสารข้อมูล ส่วนนี้จะเป็น MODEM หรืออุปกรณ์อื่นที่เหมาะสมใน
การเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่มาจากคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมในการผ่านระบบสื่อสัญญาณไปยังปลายทาง

ระบบการส่งผ่านสัญญาณ (Transmission System) 

           เครื่องส่งได้เปลี่ยน หรือแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสม สัญญาณก็จะถูกส่งผ่านระบบระบบการส่งผ่านสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องรับและผู้รับที่ปลายทางดังนั้นระบบการส่งผ่านสัญญาณจึงถือได้ว่านับเป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นมากในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม


หน้าที่ของระบบโทรคมนาคม

           ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูลระหว่างจุดสองจุด  ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และ ผู้รับข่าวสาร (Receiver) จะดำเนินการจัดการลำเลียงข้อมูลผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด   จัดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะส่งและรับเข้ามาสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ตรงกัน  ซึ่งที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ ในระบบโทรคมนาคมส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างชนิด ต่างยี่ห้อกัน  แต่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพราะใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานชุดเดียวกันกฎเกณฑ์มาตรฐานในการสื่อสารนี้เราเรียกว่า“โปรโตคอล(Protocol)”  อุปกรณ์แต่ละชนิดในเครือข่ายเดียวกันต้องใช้โปรโตคอลอย่างเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้  หน้าที่พื้นฐานของโปรโตคอล คือ   การทำความรู้จักกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่อยู่ในเส้นทางการถ่ายทอดข้อมูล  การตกลงเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูล  การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การแก้ไขปัญหาข้อมูลที่เกิดการผิดพลาดในขณะที่ส่งออกไปและการแก้ปัญหาการสื่อสารขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโปรโตคอลที่รู้จักกันมาก ได้แก่ โปรโตคอลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต เช่น  Internet Protocal ; TCP/IP , IP  Address ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

ประเภทของสัญญาณ

       1. สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง มีขนาดของข้อมูลไม่คงที่ มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยสัญญาณอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณในสายโทรศัพท์ เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญญาณอนาล็อก

     2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง มีขนาดแน่นอนซึ่งจะมีการกระโดดไปมาระหว่างสองค่าคือ สัญญาณสูงที่สุด และระดับสัญญาณที่ระดับต่ำที่สุด สัญญาณนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน เช่น ระบบการสื่อสารวิทยุดิจิตอล และทีวีดิจิตอล

                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญญาณดิจิทัล




หน่วยที่ 10 การสร้างรายงานจากโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลและการดูแลฐานข้อมูล

ใบงานที่ 10 เรื่อง การสร้างฐานข้อมูลและรายงานแบบอัตโนมัติ